เกี่ยวกับรายวิชา

แบบประเมินความสุขมวลรวมของชุมชน/ความอยู่เย็นเป็นสุข (Gross Village Happiness : GVH) มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา จัดขึ้นสำหรับประเมินผลลัพธ์ของการดำเนินงานโครงการยุทธศาสตร์ราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2567 ซึ่งเป็นการวัดความสุของคนในชุมชนทั้งในระดับครัวเรือนและระดับชุมชนตามการรับรู้ของผู้ประเมินโดยกระบวนการประเมินแบบมีส่วนร่วม เพื่อรับทราบระดับความรู้สึกพึงพอใจ สบายใจ ไม่กังวลในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในชุมชน ทั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลจะมีการวิเคราะห์ในภาพรวมซึ่งไม่มีผลกระทบต่อผู้ประเมินข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนได้อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1. ต้องการทราบความรู้สึกของคนในชุมชน ความรู้สึกเป็นสุข ซึ่งเป็นความรู้สึก พอใจ สบายใจ สะดวก หมดห่วง ไร้กังวล ต่อสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตของตนเอง ครอบครัวและชุมชน มากน้อยเพียงใด หลังจากที่ได้มีการจัดกิจกรรมการพัฒนาต่างๆในช่วงเวลที่ผ่านมา
2. การประเมินเป็นการกระทำโดยชุมชนเพื่อผลต่อชุมชนโดยตรงไม่เกี่ยวข้องกับการประกวด ไม่แข่งขันกับใคร ทำแล้วรู้ตัวเองว่าเป็นอย่างไร
3. การประเมินให้ทราบผลที่เป็นการสะท้อนเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนาและพิจารณาเชื่อมโยงย้อนไปถึงวิธีการต่างๆ ที่ส่งผลต่อการ
บรรลุเป้าหมายความอยู่เย็นเป็นสุข
4. ทำความเข้าใจกำหนดนิยามความหมายของความสุขตามที่ชุมชนเข้าใจ

เกณฑ์การวัดและประเมินผลในรายวิชา

อาจารย์ผู้สอน

รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง
รองคณบดีฝ่ายวางแผนและบริหาร คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ดร.รชานนท์ ง่วนใจรัก
คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
อาจารย์สามารถ จันทนา
ประธานหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

ตัวอย่างรายวิชา

Play Video
Scroll to Top